เครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.1 ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
(Computer network ) หมายถึง
การเชื่อมต่อสัญญาณคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ
เช่น สายสัญญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล
และทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้1.
เครือข่ายเฉพาะที่
หรือ แลน ( Local area network : LAN )
2.
เครือข่ายนครหลวง
หรือ แมน ( Metropolitan area network : MAN )
3.
เครือข่ายบริเวณกว้าง
หรือ แวน ( Wide area network : WAN )
4.
เครือข่ายภายในองค์กร
หรือ อินทราเน็ต ( Intranet )
5.
เครือข่ายภายนอกองค์กร
หรือ เอ็กทราเน็ต ( Extranet )
6.
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
( Internet )
1.2
การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก 1.
อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้ในเครือข่ายขนาดเล็กภายในบ้าน
หรือ ในสำนักงานขนาดเล็ก 1.1
การ์ดแลน ( LAN card )
เป็นอุปกรณ์ที่ทำน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน
1.2
ฮับ ( Hub )
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล
มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
ฮับเป็นตัวกระจายสัญญาณจะสามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ทีละเครื่อง
ฮับจึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
1.3
สวิตช์ ( Switch ) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ
แต่ต่างกัน คือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์นั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง
เนื่องจากสวิตช์จะรับกลุ่มมาตรวจสอบก่อน
แล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆส่งไปยังเครื่องปลายทายอย่างอัตโนมัติ
ยังช่วยป้องกันการดักรับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
1.4
โมเด็ม ( Modem )
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ (
Telephone line ) หรือ สายใยแก้วนำแสง ( Fiber optic cable ) ได้ ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล
1.5
อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ ( Router )
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล
เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.6
สายสัญญาณ ( Cable )
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบ เช่น สายโคแอกซ์ (
Coaxial cable ) สายตีเกลียวคู่ แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน (
UTP ) สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน
( STP ) และสายใยแก้วนำแสง

2.
การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก 2.1
การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ มีคอมพิวเตอร์เครือข่ายไม่เกิน
2 เครื่องต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณโดยไม่ต้องใช้สวิตช์หรือฮับ
สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนโดยใช้สายไขว้ ( Cross line ) ถ้ามีคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่อง ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย
2.2
การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
2.2.1
แบบที่หนึ่ง คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ ( Repeater ) ไว้ทุกๆระยะ 100 เมตร
2.2.2
แบบที่สอง คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ
2.2.3
แบบที่สาม เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน สายสัญญาณที่เลือกใช้ คือ สายใยแก้วนำแสง
สามารถรับข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง 2.2.4
แบบที่สี่ คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย ( Wireless lan )
เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์
เหมาะสำหรับการติกตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด 2.2.5
แบบที่ห้า คือ เทคโนโลยี G.SHDSL สามารถช่ายขยายวงของระบบเครือข่าย
เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลถึง 6 กิเมตร โดยผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา 2.2.6
แบบที่หก คือ เทคโนโลยีแบบ Ethernet over
VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานเองได้
1.3
การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก 1.
ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส ( Linux
community enterprise operating system : CentOS ) เป็นซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้งาน
หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ 2.
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิฟเวอร์ ( Windows
server ) ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชัน และ บริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์
สามารถพัฒนาให้บริการและจัดการกับแพพลิเคชันต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้
เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุด 2. อินเทอร์เน็ต2.1
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต
( Internet ) มาจากคำว่า Interconnection
network หมายถึง การใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลางเช่น
สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น เพื่อสื่อสารข้อมูลกัน
โดยอินเทอร์เน็ตเป็นการนำเครือข่ายขนาดเล็กมาเชื่อมต่อกันจนป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั่วโลก
โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต 2.1
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล ( Electronic or e-mail ) เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป้นอย่างมาก
ผู้ใช้สามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับบุคคลอื่นๆ
ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่ เรียกว่า อีเมลแอดเดรส ( e-mail address ) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ ( user name )
และ ชื่อโดเมน ( domain name )โดยใช้เครื่องหมาย @ กั้นระหว่างกลาง
การใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ ได้แก่
การใช้งานด้วยซอฟแวร์ไคลแอนต์ เช่น ไมโครซอฟต์เอาท์ลุก ( Microsoft Outlook
)

2.2
เมลลิงลิสต์ ( Mailing list ) เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารละข้อมูลเฉพาะกลุ่ม
การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้อีเมลแอดเดรสเป็นสื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆจากกลุ่ม
2.3
การสื่อสารในเวลาจริง ( Realtime communication ) เป็นการสื่อสารกันที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
สามารถส่งเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง
โดยผู้ใช้ทั้งผู้รับและผู้ส่งจะต้องเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในเวลาเดียวกันการสื่อสารในเวลาจริง
เช่น แชท ( Chat ) ห้องคุย ( Chat room )
2.4
เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม ( Social
networking web site ) เป็นชุมชนออนไลน์ที่กลุ่มคนรวมกันเป็นสังคม
มีกิจกรรมร่วมกันบนอินเทอร์เน็ต เช่น การทำความรู้จัก การแบ่งปันรูปภาพ วีดิโอ
แสดงความคิดเห็น เป็นต้นซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารกันในปัจจุบัน ตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น facebook myspace
hi5 Linkedin GotoKnow เป็นต้น
2.5
บล็อก ( blog ) ย่อมาจาก เว็บบล็อก ( webblog ) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้บันทึกเรื่องราว เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง
ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร เรียกว่า ไดอารีออนไลน์ ( diary online ) โดยจะแสดงข้อความที่เขียนล่าสุดไว้บนสุดของเว็บไซต์
2.6
วิกิ ( Wiki ) เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆที่มีความรู้ในแต่ละเรื่องมาให้ข้อมูล
หรือมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยข้อมูลที่เผยแพร่จะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป
2.7
บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล ( Remote
login/telnet ) บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆได้
ผู้ใช้สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลทำงานต่างๆได้ตามที่ต้องการโดยป้อนคำสั่งผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่
2.8
การโอนย้ายข้อมูล ( file transfer protocol : FTP ) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จากอีกเครื่องไปสู่อีกเครื่อง
อาจจะอยู่ใกล้หรือไกลกัน
การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลมีการทำงาน 2 ลักษณะดังนี้ -
get
เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง ( download )
- put เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง
( upload )
2.9
บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ ยูสเน็ต ( usenet ) มีลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา
เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งคล้ายกับการเปิดเวทีสาธารณะให้ผู้คนทั่วโลกแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
โดยผู้ใช้สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
2.10
เวิลด์ไวด์เว็บ ( world wide web : WWW ) เรียกย่อๆว่า web เป็นบริการเพื่อการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ( hypertext ) ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูล
ทำให้การค้นหาครอบคลุมข้อมูลที่ต้องการมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลที่นำเสนอในเว็บประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นข้อมูล
และส่วนที่เป็นตัวเชื่อมลิงค์ (
link ) ผู้ขอใช้บริการจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ (
web browser ) สำหรับเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลเว็บ เรียกว่า
เว็บเซิร์ฟเวอร์ ( web server ) หรือ เว็บไซต์ ( website ) ดปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเบราเซอร์ที่นิยม
ได้แก่ Internet, Explorer ,Netscape,Communicator,Mozilla Firefox ,Opera เป็นต้น
2.11
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce : e- commerce
) เป็นการธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยนำเสนอสินค้าและบริการผ่านเว็บไซต์
ทำให้ผู้ใช้บริการจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอด 24
ชั่วโมงซึ่งจะมีการชะระค่าสินค้าผ่านทางบัตรเครดิต หรือ โอนผ่านธนาคาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น