วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาตอบคำถามท้ายหน่วยกันเถอะ ^---^

คำถาม: นักเรียนมีหลักปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคม ?
.
.
.
.

คำตอบ:  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องปฏิบัติตามคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต ดังนี้
1. จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต  เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสงบสุข
     1.1 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  ต้องมีการรับผิดชอบต่อการใช้อีเมล เนื่องจากมีการรับส่งจดหมายกันอยู่บ่อยๆ หากมีจดหมายจำนวนมากก็ทำการโอนย้ายหรือลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้งได้
     1.2 จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย ในการสนทนานั้น ผู้สนทนาจะต้องมีมารยาทต่อคู่สนทนา กล่าวคือ ควรสนทนากับผู้ที่รู้จักหรือต้องการที่จะสนทนาด้วย และควรใช้วาจาที่สุภาพให้เกียรติซึ่งกันและกัน
     1.3 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา ผู้ใช้บริการควรเขียนเรื่องให้กระชับ ใช้ข้อความสั้นๆ กระทัดรัดและตรงประเด็น เข้าใจง่าย ใช้ภาษาที่สุภาพไม่มีข้อมูลลามกอนาจารไม่ควรเขียนข้อความพาดพิงถึงสถาบันชาติในทางที่ไม่สมควรหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น ควรให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดสิทธิของผู้อื่น และไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน
              นอกจากจะต้องปฏิบัติตามคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามหลัก บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ดังนี้
     1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น
     2. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
     3. ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
     4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
     5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างข้อมูลที่เป็นเท็จ
     6. ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
     7. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอรืโดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
     8. ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
     9. คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตน
   10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์ดดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาทของสังคม

                ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงควรมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้การใช้อินเทอร์เน็ตมีความเป้นระเบียบเรียบร้อยและเกิดประโยชน์สูงสุด







อ้างอิง : หนังสือเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.5 ^_^

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1 ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer network ) หมายถึง การเชื่อมต่อสัญญาณคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้1.             เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน ( Local area network : LAN )
2.             เครือข่ายนครหลวง หรือ แมน ( Metropolitan area network : MAN )
3.             เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือ แวน ( Wide area network : WAN )
4.             เครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต ( Intranet )
5.             เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือ เอ็กทราเน็ต ( Extranet )
6.             เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Internet )
1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก                1. อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก  ใช้ในเครือข่ายขนาดเล็กภายในบ้าน หรือ ในสำนักงานขนาดเล็ก                                1.1 การ์ดแลน ( LAN card ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน  


                                1.2 ฮับ ( Hub )  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ฮับเป็นตัวกระจายสัญญาณจะสามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ทีละเครื่อง ฮับจึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน


                                1.3 สวิตช์ ( Switch ) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่ต่างกัน คือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์นั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิตช์จะรับกลุ่มมาตรวจสอบก่อน แล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆส่งไปยังเครื่องปลายทายอย่างอัตโนมัติ ยังช่วยป้องกันการดักรับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย


                                1.4 โมเด็ม ( Modem )  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ ( Telephone line ) หรือ สายใยแก้วนำแสง ( Fiber optic cable ) ได้ ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล


                                1.5 อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ ( Router ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



                                1.6 สายสัญญาณ ( Cable ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบ เช่น สายโคแอกซ์ ( Coaxial cable ) สายตีเกลียวคู่ แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน ( UTP )  สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน ( STP ) และสายใยแก้วนำแสง


                2. การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก                                2.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้   มีคอมพิวเตอร์เครือข่ายไม่เกิน 2 เครื่องต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณโดยไม่ต้องใช้สวิตช์หรือฮับ สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนโดยใช้สายไขว้ ( Cross line ) ถ้ามีคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่อง  ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย
                                2.2 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
                                2.2.1 แบบที่หนึ่ง คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ ( Repeater ) ไว้ทุกๆระยะ 100 เมตร
                                2.2.2 แบบที่สอง คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ
                                2.2.3 แบบที่สาม เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน สายสัญญาณที่เลือกใช้ คือ สายใยแก้วนำแสง สามารถรับข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง                                2.2.4 แบบที่สี่ คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย  ( Wireless lan ) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์ เหมาะสำหรับการติกตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด                                2.2.5 แบบที่ห้า คือ เทคโนโลยี G.SHDSL  สามารถช่ายขยายวงของระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลถึง 6 กิเมตร โดยผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา                                2.2.6 แบบที่หก คือ เทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานเองได้
1.3 การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก                1. ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส ( Linux community enterprise operating system : CentOS )  เป็นซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์                2. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิฟเวอร์ ( Windows server ) ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชัน  และ บริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บริการและจัดการกับแพพลิเคชันต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุด 2. อินเทอร์เน็ต2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต                อินเทอร์เน็ต ( Internet ) มาจากคำว่า Interconnection network หมายถึง การใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลางเช่น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น เพื่อสื่อสารข้อมูลกัน โดยอินเทอร์เน็ตเป็นการนำเครือข่ายขนาดเล็กมาเชื่อมต่อกันจนป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต                2.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล ( Electronic or e-mail ) เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป้นอย่างมาก ผู้ใช้สามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับบุคคลอื่นๆ ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่ เรียกว่า อีเมลแอดเดรส ( e-mail address ) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ ( user name ) และ ชื่อโดเมน ( domain name )โดยใช้เครื่องหมาย @ กั้นระหว่างกลาง  การใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ การใช้งานด้วยซอฟแวร์ไคลแอนต์ เช่น ไมโครซอฟต์เอาท์ลุก ( Microsoft Outlook )


                2.2 เมลลิงลิสต์ ( Mailing list ) เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารละข้อมูลเฉพาะกลุ่ม การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้อีเมลแอดเดรสเป็นสื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆจากกลุ่ม


                2.3 การสื่อสารในเวลาจริง ( Realtime communication ) เป็นการสื่อสารกันที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถส่งเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง โดยผู้ใช้ทั้งผู้รับและผู้ส่งจะต้องเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในเวลาเดียวกันการสื่อสารในเวลาจริง เช่น แชท ( Chat ) ห้องคุย ( Chat room )


                2.4 เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม ( Social networking web site ) เป็นชุมชนออนไลน์ที่กลุ่มคนรวมกันเป็นสังคม มีกิจกรรมร่วมกันบนอินเทอร์เน็ต เช่น การทำความรู้จัก การแบ่งปันรูปภาพ วีดิโอ แสดงความคิดเห็น เป็นต้นซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารกันในปัจจุบัน  ตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น  facebook   myspace   hi5 Linkedin   GotoKnow เป็นต้น   


                2.5 บล็อก ( blog ) ย่อมาจาก เว็บบล็อก ( webblog ) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้บันทึกเรื่องราว เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร เรียกว่า ไดอารีออนไลน์ ( diary online ) โดยจะแสดงข้อความที่เขียนล่าสุดไว้บนสุดของเว็บไซต์


                2.6 วิกิ ( Wiki ) เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆที่มีความรู้ในแต่ละเรื่องมาให้ข้อมูล หรือมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยข้อมูลที่เผยแพร่จะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป


                2.7 บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล ( Remote login/telnet ) บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆได้ ผู้ใช้สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลทำงานต่างๆได้ตามที่ต้องการโดยป้อนคำสั่งผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่


                2.8 การโอนย้ายข้อมูล ( file transfer protocol : FTP ) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จากอีกเครื่องไปสู่อีกเครื่อง อาจจะอยู่ใกล้หรือไกลกัน  การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลมีการทำงาน 2 ลักษณะดังนี้                - get เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง ( download )
                - put เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง ( upload )


                2.9 บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ ยูสเน็ต ( usenet ) มีลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งคล้ายกับการเปิดเวทีสาธารณะให้ผู้คนทั่วโลกแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยผู้ใช้สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น


                2.10 เวิลด์ไวด์เว็บ ( world wide web : WWW ) เรียกย่อๆว่า web  เป็นบริการเพื่อการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ( hypertext ) ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูล ทำให้การค้นหาครอบคลุมข้อมูลที่ต้องการมากยิ่งขึ้น ข้อมูลที่นำเสนอในเว็บประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นข้อมูล และส่วนที่เป็นตัวเชื่อมลิงค์  ( link ) ผู้ขอใช้บริการจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ( web browser ) สำหรับเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลเว็บ เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ ( web server )  หรือ เว็บไซต์ ( website ) ดปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเบราเซอร์ที่นิยม ได้แก่ Internet, Explorer ,Netscape,Communicator,Mozilla Firefox ,Opera เป็นต้น


                2.11 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce : e- commerce ) เป็นการธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนำเสนอสินค้าและบริการผ่านเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้บริการจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงซึ่งจะมีการชะระค่าสินค้าผ่านทางบัตรเครดิต หรือ โอนผ่านธนาคาร




วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ


ระบบสารสนเทศ(information system) หมายถึง?

- ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็น
สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
และถูกต้อง
องค์ประกอบของสารสนเทศมีอะไรบ้าง


- ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ
        หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
        หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
        หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ จะพบว่าคล้ายกัน กล่าวคือ เมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลจากประสาทสัมผัส ก็จะส่งให้สมองในการคิด แล้วสั่งให้มีการโต้ตอบ
  ซอฟต์แวร์  หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
 ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
1.  ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น   ซอฟต์แวร์กราฟิก  ซอฟต์แวร์ประมวลคำ  ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล 

ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ


บุคลากร   บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน


 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  ที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน
ชนิดของระบบสารสนเทศ
- ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ
ระบบสารสนเทศสำนักงาน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศ
ระบบประมวลผลรายการ
เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง
- เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจมีอยู่กี่ระดับ
1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค
สรุประบบสารสนเทศ  คือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประโยชน์ในด้านต่างๆช่วยในการตัดสินใจประมวลผลและทำให้งานเสร็จไปอย่างรวดเร็ว
องค์ประกอบของสารสนเทศมี5อย่างดังนี้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคคลากร และขั้นตอนการปฎิบัติงาน

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จักผู้เขียนกันเถอะ ^^

About me :)




My name's  kanchana  taddee.
My nickname's mook.
I'm friendly.  
I'm 17years old. 
I was born 23 june 1996. 
I'm student m.5/5 ( Eis program )at Bangbowitthayakhom School. 
I like dog and cat. 
My favourite subject is Chemistry.
My favourite food is noodle.
I want to be Pharmacist. 

* บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อแนะนำเราเองน้า  ยินดีที่ได้รู้จักน้า^^